Home / ไก่แจ้งเตือน
โครงการไก่แจ้งเตือนเพื่อลดปัญหา Downtime ในกระบวนการผลิต
จุดประสงค์
เนื่องจากโรงงานบางแห่งคิดว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอาจจะต้องลงทุนเยอะ ใช้โปรแกรม PLC ,SCADA ,DCS อื่นๆมากมาย คนนึงต้องการแบบนั้น อีกคนต้องการแบบนี้ เสียเวลาเถียงกันในที่ประชุมว่าจะสรุปออกมาแบบไหน ทางทีมงาน ECOM จึงเห็นว่า การปรับปรุงประสิทธิภาพที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องลงทุนหรือคิดอะไรให้มากมาย เราสามารถมองหาสิ่งรอบๆตัวเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เรียบง่ายแต่ได้ผล
Downtime มีความสำคัญยังไงในกระบวนการผลิต
เชื่อว่าหลายโรงงานประสบปัญหา Downtime โรงงานบางแห่งถึงขั้นต้องประชุมด่วนเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เพราะเวลาที่สูญเสียไปในแต่ละวินาทีจากการเกิด Downtime เป็นสิ่งสำคัญไม่ควรมองข้ามเมื่อเวลาเกิด Downtime แล้วรีบเข้าแก้ไขเร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ปฎิบัติงานต้องให้ความร่วมมือหากเกิดปัญหาขึ้นไม่ควรละเลย ให้รีบแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องหรือส่งสัญญาณให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้และเข้ามาทำการแก้ไข เพื่อให้กลับมาทำการผลิตได้เร็วยิ่งขึ้น
โครงการนี้เหมาะกับเราหรือไม่??? และปัญหาที่พบคืออะไร???
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ในโรงงานคือ การที่จะทำ Improvement บางเรื่องเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล กลัวว่าลงทุนด้วยงบประมานที่สูงแล้วจะสูญเปล่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน รวมถึงผู้ปฎิบัติงานอาจไม่เห็นด้วย เพราะว่าอาจจะไปเพิ่มกระบวนการหรือวิธีการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนให้กับตัวผู้ปฎิบัติ โครงการนี้เหมาะสำหรับโรงงานที่งบประมานมีจำกัดและไม่ต้องการกระบวนการวิธีการทำงานที่ซับซ้อนวุ่นวาย ตัวอย่างลูกค้าที่เคยพบคือ ทางลูกค้าเลยอยากทราบว่าพอมีระบบที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนแต่ใช้การได้จริงบ้างรึเปล่า โรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานประกอบของเล่น ทางโรงงานอยากได้ระบบของเราไปใช้ จากเดิมที่เข้าใช้เป็นธง 3 สี ในแต่ละสายการผลิตจะมีกระบอกปักธง สีแดง สีเหลือง และสีเขียว เมื่อเวลาเกิดปัญหาเช่น ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเสียหาย พนักงานจะชูธงสีแดงค้างไว้จนกว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะมา หลักจากที่ได้รับการแก้ไขสามารถทำงานได้ปกติกระบอกปักธงก็จะมีธงสีเขียวแสดงอยู่ จะเห็นได้ว่าเป็นระบบง่ายๆแต่ใช้งานได้จริง
แนวทางการแก้ปัญหา
จุดเริ่มต้นที่มาที่ไปของไก่แจ้งเตือนเนื่องด้วยทางบริษัทเรามีประสบการณ์ด้านการทำระบบ Visual Control มานานเลยเห็นว่าจริงๆแล้วการใช้ Visual Control นั้นมีหลายรูปแบบทั้งการรับรู้จากการได้ยินหรือการมองเห็นและไม่จำต้องราคาแพงเสมอไป ตามหลัก Lean Manufacturing Concept ให้ทำในสิ่งเรียบง่ายแต่ได้ผล ไก่แจ้งเตือน สามารถช่วยได้ หลักการทำงานของไก่แจ้งเตือน มีดังนี้ จากประสบการณ์สาเหตุหลักเวลาสายการผลิตมีปัญหามาจาก 4 สาเหตุใหญ่ๆได้แก่
- Man (คน)
- Machine (เครื่องจักร)
- material (วัสดุ)
- Method (วิธีการ)
หลักการทำงาน
หลักการง่ายๆของไก่แจ้งเตือน จะมีกระบอกปักไก่ไว้สำหรับใส่ไก่ไว้ที่สายการผลิตการส่งสัญญาณเสียงจะเป็นดังนี้ สาเหตุที่ 1 เกิดจากคนจะบีบ 1 ครั้ง สาเหตุที่ 2 เกิดจากเครื่องจักรจะบีบ 2 ครั้ง สาเหตุที่ 3 เกิดจากเครื่องจักรจะบีบ 3 ครั้ง สาเหตุที่ 4 เกิดจากวิธีการจะบีบ 4 ครั้งเป็นการรณรงค์ให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงการมีปัญหาหรือการ Breakdown หรือ Downtime เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและกลายเป็นเรื่องสนุกได้ ยิ่งถ้าพนักงานรีบแจ้งเตือนด้วยไก่อาจจะช่วยลดความตึงเครียดได้โดยไก่แจ้งเตือนใช้งบประมาณน้อยและเรียบง่าย หากไก่ตัวไหนเงียบแสดงว่าไม่เกิด Downtime เลยก็อาจจะมีรางวัลให้พนักงานในไลน์นั้นตามความเหมาะสม
วีธีการดำเนินงาน
- เลือกสายการผลิตที่ต้องการใช้งานไก่แจ้งเตือน
- ทำการบันทึกข้อมูลเวลาที่เกิด Downtime ก่อนการปรับปรุงในสายการผลิตที่เลือกไว้กำหนดขอบเขตระยะเวลาภายใน 1 เดือน
- สั่งซื้อไก่แจ้งเตือน
- อบรบวีธีการปฎิบัติงาน ***ในกรณีที่ใช้งานจริงเมื่อเกิดปัญหาอาจจะให้พนักงานบีบไก่ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องลำดับสาเหตุ***
- เก็บข้อมูลเวลาที่เกิด Downtime หลังการปรับปรุงขอบเขตระยะเวลาภายใน 1 เดือน
- ทำการสรุปผลและวิเคราะห์
ไก่แจ้งเตือนมีประโยชน์อย่างไร
- ช่วยให้พนักงานหรือผู้ปฎิบัติงานรับรู้ได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา
- ลงทุนน้อยประหยัดงบประมาณคืนทุนเร็ว
- เกิดแนวคิดในการกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ แบบสร้างสรรค์
- ทำให้พนักงานหรือผู้ปฎิบัติงานตระหนักถึงการทำ Improvement ไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวอีกต่อไป
- เป็นจุดเริ่มต้นในการมองหาสิ่งรอบตัวเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการผลิต