ข่าวแรก รัฐบาลเยอรมันจริงจัง อัดฉีดงบ ดันรถยนต์ไฟฟ้าและปลั๊กอินไฮบริด ลดโลกร้อน
ข่าวที่สอง เปิดแผนระยะสั้น-ยาว ดันไทยฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใน 5 ปี “สุริยะ” ยันไม่ทิ้ง “ผู้ผลิตชิ้นส่วน”
1. รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และรถปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle: PHV) กุญแจสำคัญสู่การลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรัฐบาลเยอรมัน ได้อัดฉีดงบประมาณโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริด และตั้งเป้าติดตั้งสถานีชาร์จไฟ 1 ล้านแห่งในปี 2030 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมันมั่นใจว่า หากสามารถพัฒนายานยนต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านของรูปลักษณ์และราคา รวมถึงได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นที่นิยมได้ภายในเวลา 5 ปีเท่านั้น อุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมันแสดงความเห็นว่า การบังคับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อยอดขายยานยนต์ โดยเฉพาะยานยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ที่ผู้บริโภคตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนี้เอง ได้ส่งเสริมให้รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่ และมีความคิดว่า หากสามารถพัฒนายานยนต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านของรูปลักษณ์และราคา รวมถึงได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นที่นิยมได้ภายในเวลา 5 ปีเท่านั้น
2. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เร่งขับเคลื่อนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถบัสไฟฟ้า ภายใน 5 ปี โดยกำหนดแผนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ปี ค.ศ. 2030 ประเทศไทยมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด (ประมาณ 750,000 คัน) รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันไม่ทิ้งผู้ผลิตชิ้นส่วน (ICE) ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ นักลงทุนหวังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเร่งดำเนินการกำหนดมาตรการสนับสนุน และให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานปัญหาอุปสรรคให้คณะกรรมการฯ ทราบโดยเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน นายสุริยะ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์/ชิ้นส่วน (ICE) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย รัฐบาลจะมีนโยบายให้มีการพัฒนามุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ยังอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน และเป็นกำลังสำคัญให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่อไป โดยจะอาศัยกลไกที่สำคัญ คือ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเร็ว