ข่าวสารแวดวงอุตสาหกรรม Evisual News – ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2563

ข่าวแรก Sumitomo Chemical เผย วัสดุแห่งอนาคต ดีมานด์พุ่งในยุค 5G และ CASE
ข่าวที่สอง อุตสาหกรรมเหล็กหืดจับอีกปี ซัพพลายท่วมดีมานด์ก่อสร้างวูบ 2 ล้านตัน

1. Sumitomo Chemical เผย 2 สิ่งสำคัญที่จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างมากในอนาคต คือ เทคโนโลยีเครือข่าย 5G และแนวคิด CASE (Connected, Autonomous, Shared, Electric) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งทั่งคู่จะกระตุ้นความต้องการ วัสดุเฉพาะทางให้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่ใช่เพียงแค่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัสดุอื่น เช่น พลาสติกวิศวกรรม , โพลิเมอร์ผลึกเหลว , สารกึ่งตัวนำแบบผสม , เรซิ่นใส และอื่น ๆ Mr. Masaki Matsui ตัวแทนผู้อำนวยการ แผนกเคมีภัณฑ์ด้าน IT บริษัท Sumitomo Chemical แสดงความเห็นว่า “ในความเป็นจริงแล้ว วัสดุเหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ซะทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น LCP ซึ่งเป็นวัสดุที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน ซึ่งในกรณี Sumitomo Chemical ได้พัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 1970 และไม่ทำกำไรให้กับบริษัทในขณะนั้น จนพบว่าคุณสมบัติไดอิเล็กตริก และการดูดซึมน้ำต่ำ เหมาะสำหรับนำมาพัฒนาเป็นชิ้นส่วนแผงวงจร 5G เป็นอย่างยิ่ง” Sumitomo Chemical ตั้งเป้านำเทคโนโลยีของบริษัทในปัจจุบัน มานำเสนอโซลูชันด้านวัสดุแห่งอนาคตภายในเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม หากคำนึงถึงอนาคตในอีก 10 – 20 ปีหลังจากนี้แล้ว การพัฒนาวัสดุเหล่านี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น เช่น ขีดความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ และเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วย

2. อุตสาหกรรมเหล็กไทยปี’63 ยังเหนื่อย ดีมานด์ทรุดเหลือ 16-17 ล้านตัน กำลังซื้อแผ่ว เหล็กนำเข้าดัมพ์ราคา คู่แข่งโรงเหล็กเตาอินดักชั่นโผล่ อีก 7 ล้านตัน ซัพพลายเหล็กเส้นท่วมตลาด ลุ้นเมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐเพิ่มสัดส่วนการใช้เหล็กในประเทศ ชุบชีวิตอุตสาหกรรมครึ่งปีหลัง ดันราคาเหล็กขยับเกิน กก.ละ 18 บาท นายประวิทย์ หอรุ่งเรือง กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมเหล็กไทย เปิดเผยคาดการณ์อุตสาหกรรมเหล็กปี 2563 ว่า อัตราการเติบโตจะยังคงทรงตัว และถือเป็นปีที่หนักมากของอุตสาหกรรมเหล็ก โดยคาดการณ์ว่าปีนี้ปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศ น่าจะปรับลดลงเหลือ 16-17 ล้านตัน จาก 18 ล้านตัน ขณะที่สถานการณ์ราคาจะเป็นไปตามกลไกของตลาดซึ่งทรงตัวที่ กก.ละ 18 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือปรับขึ้นเล็กน้อยนอกจากนี้หลังจากการประกาศกระทรวงของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ห้ามตั้งโรงงานหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็ก สำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทุกขนาดทุกท้องที่ในราชอาณาจักร เป็นเวลา 5 ปี ส่งผลให้มีบางโรงงานต้องปิดกิจการ และยังพบว่ามีการเร่ขายใบอนุญาตโรงงานที่ยังไม่หมดอายุ สุดท้ายเหล็กเส้นก็ยังล้นตลาดอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเหล็กในประเทศ คาดหวังปัจจัยบวกจากมาตรการทางภาครัฐ เข้ามาช่วยอุตสาหกรรมเหล็กที่คาดว่าจะประกาศขึ้นในไม่ช้า รวมถึงงบประมาณที่จะทยอยออกมาเพื่อลงทุนโครงการก่อสร้างของรัฐ โครงการก่อสร้างเอกชนที่จะส่งผลให้เกิดการลงทุนเร็วขึ้น และมาตรการสนับสนุนใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศ (local content) มากขึ้น

recommend news

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *