ข่าวสารแวดวงอุตสาหกรรม Evisual News – ประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2563

ข่าวแรก Nissan ปิดสำนักงานใหญ่ประทเศญี่ปุ่นลี้ภัย covid-19
ข่าวที่สอง Toyota เลื่อนปิดโรงงานเกตเวย์ ถึง 23 พ.ค.
ข่าวที่สาม ญี่ปุ่นแนะ SME ลงทุนในอาเซียน
ข่าวที่สี่ โควิดกระทบ ผู้ผลิตอากาศยานลดเป้าผลิต

1. Nissan ประกาศ ปิดโรงงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม เพื่อสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยในช่วงเวลานี้ ทางบริษัทจะเปิดทำการเฉพาะแผนกที่มีความสำคัญทางธุรกิจ และใช้พนักงานให้น้อยที่สุด การปิดสำนักงานในครั้งนี้ จะช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ส่วนทางด้านของสายการผลิตนั้น เนื่องจากความต้องการยานยนต์ที่ลดลง Nissan ได้ประกาศหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราวในโรงงาน 3 แห่ง ดังนี้ 1. โรงงานคิวชู หยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2. โรงงานโทชิงิ หยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 11 – 20 และ 28 – 29 พฤษภาคม 3. โรงงานโอปปามะ หยุดการผลิตในวันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งจากเดิมมีกำหนดประกาศกลางเดือนพฤษภาคม ไปเป็นวันที่ 28 พฤษภาคม เพื่อใช้เวลาในการวางมาตรการใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคโควิด-19 แทน

2. ล่าสุด บริษัทฯ ขอประกาศปรับช่วงเวลาการหยุดพักสายการผลิตของโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าเกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา จากกำหนดการเดิมไปจนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ อีกทั้งสถานการณ์การขายทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดการส่งออก สถานการณ์การผลิตชิ้นส่วนจากทั่วโลกยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการคำนึงถึงแนวปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของ บริษัทคู่ค้า ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า พนักงานโตโยต้า และชุมชนโดยรอบเป็นสำคัญ นำมาซึ่งการพิจารณาปรับช่วงเวลาการหยุดพักสายการผลิตเพิ่มเติมของโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทยในครั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันว่า การประกาศขยายช่วงเวลาการหยุดพักสายการผลิตฯ ในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้แทนจำหน่ายฯแต่อย่างใด

3. รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศสนับสนุนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยมีประเทศเป้าหมายคือ ไทย เวียดนาม และฮ่องกง ด้วยการอนุมัติปล่อยเงินกู้ให้กับ SME ญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการลงทุนเครื่องจักร ลดผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 องค์กรสนับสนุนธุรกิจ SME ประเทศญี่ปุ่น เผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการปล่อยกู้ในครั้งนี้จะมีความแตกต่างจากที่แล้วมา โดยครั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ซึ่งจะให้บริษัทสาขาหลักในประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อให้บริษัทสามารถกู้เงินจากญี่ปุ่น และธนาคารในประเทศเป้าหมายได้ จึงเหมาะสมสำหรับบริษัท SME โดยเบื้องต้นคาดการณ์ว่า จะเริ่มดำเนินนโยบายนี้ได้ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้น

4. ช่วงไตรมาสแรก ปี 2020 Airbus ได้รับออเดอร์อากาศยานสูงถึง 290 ลำ และจัดส่งไปแล้วทั้งสิ้น 122 ลำ ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชน ทำให้มีอากาศยานอีก 60 ลำ ซึ่งผลิตแล้วเสร็จ แต่ไม่อาจจัดส่งให้สายการบินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม ซึ่งจัดส่งได้เพียง 36 ลำ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึง 55 ลำ เนื่องจากสายการบินที่เป็นลูกค้าขอให้เลื่อนการส่งมอบออกไปก่อน บริษัท Airbus แสดงความเห็นว่า “ผลกระทบของไวรัสโคโรน่ารุนแรงเป็นประวัติการณ์ และเราพร้อมจะปรับยอดการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสายการบินต่อไปตามความเป็นจริง”

recommend news

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *