Home > OEE Management System

หากโรงงานของคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ !

  • เครื่องจักรทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน
  • วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดอย่างยากลำบาก

OEE Management System แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักร ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ความสามารถของผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการได้อย่างดี OEE Management System ออกแบบมาเพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น มี Report พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรียกดูย้อนหลังได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

โทรรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้ OEE Management System สำหรับโรงงานต่างๆ

  • มีตัวชี้วัดชัดเจนง่านต่อการวิเคราะห์ปัญหา
  • ต้องการทำ Improvement (Kaizen) เพิ่ม Productivity ลดความสูญเสีย
  • เครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วยในการแก้ไขปัญหา 6 Big losses
  • กระบวนการทำงานเป็นระบบมากขึ้น สอดคล้องกับหลักการ ECRS
  • มี Data Record สามารถเรียกดูย้อนหลังได้

บริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือในการออกแบบ ระบบ OEE Management System

ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ, นัดหมายดูหน้างานสรุป Requirement – ระบบ ควบคุมการผลิต ด้วยการมองเห็น, Andon System โดยวิศวกร ที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

ทำไมต้องมีการตรวจสอบเครื่องจักร?

ในปัจจุบันการรับรู้ข้อมูลหรือปัญหาของเครื่องจักรแบบ Real time เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้ทันทีหรือรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นช้า ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลเครื่องจักรแบบ Real time เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันพร้อมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

How OEE Management System Works

ในยุคของอุตสาหกรรม IIoT ผู้ผลิตตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีมากขึ้น OEE Management System ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายเหมาะกับทุกอุตสาหกกรมที่มีเครื่องจักรประกอบการผลิต

ตัวอย่างการคำนวณและการใช้สูตร OEE.

การคำนวณ OEE  ประกอบด้วยผลคูณของ 3 ตัวแปร ดังนี้

  • อัตราเดินเครื่อง (Availability)
    = เวลาเดินเครื่่อง(Operating Time) / เวลารับภาระงาน(Loading Time)
  • ประสิทธิภาพเดินเครื่อง (Performance)
    = เวลาเดินเครื่องสุทธิ (Net Operating Time) / เวลาเดินเครื่อง(Operating Time) หรือ จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้จริง / จำนวนชิ้นงานที่ควรผลิตได้ตามมาตราฐาน
    ประสิทธิภาพการเดินเครื่องบางครั้งไม่สามารถคำนวณได้โดยตรง   เนื่องจากมีความสูญเสียมีองค์ประกอบหลายอย่าง
  • อัตราคุณภาพ (Quality)
    = (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด – จำนวนชิ้นงานที่เสีย) / จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด

ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์(Overall Equipment Effectiveness : OEE) โดยมาตรฐานโดยทั่วไป

  • อัตราเดินเครื่อง (Availability)            =  90%
  • ประสิทธิภาพเดินเครื่อง (Performance) =  95%
  • อัตราคุณภาพ (Quality)                   =  99%
    ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจะเท่ากับ (0.9*0.95*0.99)*100  = 85%

ตัวอย่างการคำนวน

นายศักดาเป็นพนักงานในโรงงานแห่งหนึ่งมีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร M มีเวลาทำงานทั้งหมด 8 ชั่วโมง/วัน โดยเป้าหมายต้องผลิตชิ้นงาน BK-23 ให้ได้ 120 ชิ้น/วัน ซึ่งในวันนั้นนเครื่องจักร M ผลิตชิ้นงานได้ 100 ชิ้น มีชิ้นงานที่ไม่ผ่าน QC 20 ชิ้น

หาค่า  

  • A จากสูตร อัตราเดินเครื่อง (Availability)
    =  เวลาเดินเครื่่อง(Operating Time) / เวลารับภาระงาน(Loading Time)
    = (8 ชั่วโมง * 60 นาที) / (8 ชั่วโมง * 60 นาที) = 1 คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 100%
  • P จากสูตร ประสิทธิภาพเดินเครื่อง (Performance)
    =  จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้จริง / จำนวนชิ้นงานที่ควรผลิตได้ตามมาตราฐาน
    = 100 / 120 = 0.83 คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 83%
  • Q จากสูตร อัตราคุณภาพ (Quality)
    =  (จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด – จำนวนชิ้นงานที่เสีย) / จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ทั้งหมด
    = (100-20) / 100 = 0.8 คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 80%
    ดังนั้น  ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจะเท่ากับ A*P*Q = (1*0.83*0.08)*100  = 66%

OEE Dashboard

Features OEE Management System

ติดตามการหยุดทำงานของเครื่องจักร

การรู้ถึงสาเหตุที่เครื่องจักรหยุดทำงาน เป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาการหยุดทำงานของเครื่องจักรและการหาแนวทางการป้องกันและแก้ไข

แสดงข้อมูลการผลิต

หน้าจอแสดงผลจะถูกติดตั้งในแต่ละสายการผลิต ซึ่งหน้าจอจะแสดงข้อมูลในการผลิต Model Plan Actual Diff EFF OEE และแสดงสถานะการทำงานในแต่ละสายการผลิต

Job Setup/Changeover Tracking

เครื่องจักรในแต่ละอุตสาหกรรมมักจะเปลี่ยนชิ้นงานบ่อยครั้ง ทำให้อาจเสียเวลาในการผลิตอย่างมาก เวลาในการ Set Up/Changeover อาจแตกต่างกันไปลักษณะของชิ้นงานที่กำลังดำเนินการผลิต โดยจะมีการบันทึกเวลาตั้งแต่เริ่ม Setup/Changeover จนเสร็จสิ้น เพื่อที่จะนำเวลาเหล่านี้มาปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อลดเวลาในการ Setup/Changeover ตามหลัก SMED (Single-Minute Exchange of Die)

Machine Utilization

มีการแสดงสถานะเครื่องจักรแบบ Real time สามารถรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที แต่ละเครื่องจะมีการกำหนดสีเช่นหากเครื่องจักรหยุดใช้สีแดง ซ่อมบำรุงใช้สีเหลือง และการทำงานปกติใช้สีเขียว

Reporting

จากข้อมูลที่บันทึกไว้ใน PC Server สามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ มีข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของเครื่องจักร เช่นรอบเวลา จำนวนชิ้นส่วนที่ผลิต, จำนวนของเสีย, สาเหตุการหยุดทำงาน ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและวัดผลสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิต

Computer Server

มีการเก็บบันทึกข้อมูลการผลิตต่างๆไว้ในเครื่อง Computer Server โดยอัตโนมัติมีความปลอดภัย โดย PC Server ตัวนี้จะอยู่ในห้องผู้ที่ดูแลรับผิดชอบหรือมีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น สามารถเรียกดูข้อมูลในการผลิตย้อนหลังได้

Alerts and Notifications

มีการแจ้งเตือนเมื่อเครื่องจักรหยุดทำงานผ่าน APP Line รวมรวมเวลาที่เครื่องจักรหยุดทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขจนเสร็จ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงปัญหาและรีบทำการแก้ไขโดยเร็วที่สุด

Machine Information Integration

ใช้ I/O Module 8 Input 8 Output (Signal From M/C)ในการรับ – ส่งสัญญาณจากเครื่องจักรผ่าน I/O Module ไปยัง Software เพื่อนำข้อมูลที่ต้องการออกมาแสดงผล ช่วยให้การทํางานในการประมวลผลต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สนใจและต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อเรา