การเลือกใช้ระบบ E-Visual Control ให้กับโรงงาน ต้องดูอะไรบ้าง?

การเลือกใช้ระบบ E-Visual Control  ในสมัย 10 กว่าปีที่แล้วยังไม่แพร่หลายในประเทศไทยมากนักและยังราคาสูงอีกด้วย โปรเจคแรกที่เราเริ่มต้นมาจากการที่เราเข้าไปหาลูกค้าที่โรงงานเครื่องปรับอากาศ

การเลือกใช้ระบบ  E-Visual Control ให้กับโรงงานต้องดูอะไรบ้าง 

ความสูญเปล่าไม่อาจรอให้ถึงเช้า การใช้ระบบ E-Visual Control ต้องเป็นยังไงบ้าง ต้องบอกก่อนว่า Visual Control อยู่ในหลัก  Lean Manufacturing Concept การควบคุมการผลิตด้วยการมองเห็นหรือ Visual Control จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาและเพิ่ม Productivity ในการผลิตได้ ทำไมเราถึงต้องเรียก E-Visual Control ? เพราะว่า เปลี่ยนรูปแบบเดิมในสมัยก่อนยังไม่มีระบบอิเล็กทรอนิคเข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นในการทำ  Visual Control แสดงให้เห็นทันทีที่พบปัญหาและรีบแก้ไขทันที คำว่า E เราเปลี่ยนให้เป็นระบบ Electronic เท่านั้น งานในส่วนนีี้จึงต้องร่วมมือกันระหว่างวิศวอุตสาหการและวิศวไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคและ IT เดิมทีสมัยก่อนเราใช้พวก PLC ระบบ SCADA Automation ในช่วงหลังจึงต้องร่วมมือกันทางวิศวอุตสาหการ ในส่วนของ IT นั้นระบบ E-Visual Control ไม่ใช่ประโยชน์แค่มองเห็นอีกต่อไปสามารถเก็บข้อมูลต่างๆได้ Detect ด้วย Sensor ต่างๆทำให้รู้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นที่ไหนอย่างไร เริ่มมีข้อมูลที่สามารถนำไปทำ Improvement ต่อได้ เช่น เมือครบเดือนสามารถ Export Report ออกมาวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ชิ้นงานมีปัญหามากที่สุดคืออะไร ก็จะสามารถรู้ต้นตอของสาเหตุได้ การเลือกระบบ E-Visual Control ต้องดูอะไรบ้าง บริษัทเราเริ่มต้นจากการทำ User Interface โปรแกรมต่างๆตามความต้องการของลูกค้าเช่น เครื่อง JIG Test เครื่องทดสอบ Load Break ของการไฟฟ้าผ่านผลิต จนวันนึงเราได้รู้จักพี่ผู้จัดการโรงงานเครื่องปรับอากาศเป็น Project แรกอยากจะใช้ระบบ E-Visual Control แต่ในยุค 10 กว่าปีที่แล้วนั้นมีเฉพาะต่างประเทศ ต้องสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งราคาสูงมาก รวมถึงเวลามีปัญหาต้องส่งซ่อมซึ่งใช้เวลานานและราคาสูง ทางเราจึงได้โอกาศทำงานนี้ ในตอนนั้นเริ่มทำในส่วนที่เป็น LED Display และในส่วนของ Program ในการทำงานของ Visual Control มีส่วนที่ต้องแสดงผล ระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลต้องแม่นยำ และใช้งานง่าย โดยเราต้องเข้าไปคุยกับลูกค้าที่เป็นวิศวอุตสาการในโรงงานต่างๆ เช่น ในการใช้งานจริงเป็นยังไง ต้องติดไว้ที่ไหน Operate ยังไง กดกี่ครั้งสะดวกหรือไม่สะดวก หลังจากนั้นเรา Design

จากหลายฝ่าย จะมี 2 แบบ 1.แบบที่ไม่ใช้ Software 2.แบบที่ใช้ Software ต้องมีการออกแบบ Icon ต่างๆ รวมถึง Dashboard ต้องให้เห็นชัดเข้าใจง่าย จึงได้เวอร์ชั่นแรกออกมา เนื่องจากเป็นระบบวงจรอิเล็กทรอนิค สิ่งที่เจอปัญหาแรกๆเลยคือ สัญญาณรบกวนต่างๆ ถ้าสายการผลิตที่มีมอเตอร์ หรือ Spot wedding ทำให้การรับ-ส่งสัญญาณไม่เสถียร ในการแก้ปัญหานี้หลักจากออกแบบจึงได้จำลองสัญญาณรบกวนขึ้นมาเพื่อทดสอบว่าการแสดงผลถูกต้องหรือไม่ จนค่อนข้างมั่นใจว่าระบบที่ออกแบบมาใหม่ทนต่อสัญญาณนบกวนได้

เรื่องต่อไปที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่อง Part ในการเลือก Part ที่จะประกอบให้ลูกค้านั้นมีความสำคัญโดย Vender ที่เราเลือกมาต้องถูกทดสอบการใช้งานและคุณภาพในการเปล่งแสงและเม็ดสี ต้องบอกก่อนว่างานในระบบ  Visual Control ใช้กันยาวนานแน่นอนว่าเกิน 1 ปี ทางบริษัทเรามีการรับประกันรวมไปถึงเรื่องการบริการหลังการขาย Service และ Maintanence ต้องมั่นใจว่ามีอะไหล่รองรับสำหรับการเปลี่ยน Part บางอย่างทางเราได้ Stock ของไว้ล่วงหน้า ฉะนั้นในการเลือกต้องดูว่าเขามี Spaer Part ไว้รึเปล่า ในส่วนของ User Interface ด้วยตอนนั้นอะไรเราก็ทำได้จึงอยากทำให้ลูกค้า ผลที่ออกมาคือระบบมันซับซ้อนมากหลายฟังก์ชัน สิ่งที่ค้นพบหลังจากนั้นกลายเป็นว่ามันใช้งานยาก ช่วงหลังมีการประชุมกับลูกค้าหลายฝ่ายเช่น Production Engineer ไฟฟ้า IT ในการพัฒนาระบบจริงๆต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ได้ข้อมูลที่สำคัญและในส่วนที่จะนำมาแสดงบน Display ต้องเลือกจุดที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น เช่น Line Assembly จุดสำคัญที่ต้องนำมาแสดงคือ แผนการผลิตต้องเห็นชัด และกำลังผลิต Model อะไรอยู่ Takt Time and Cycle Time และ Downtime คนที่จะทำด้านนี้จะต้องมีประสบการณ์มาพอสมควร เราเชื่อว่าใครๆก็ทำได้ แต่ถ้าจะทำให้ระบบมันเรียบง่ายและใช้งานง่ายทั้ง IT ที่ได้ข้อมูลครบ ฝั่ง IE สามารถ Operate ได้ง่าย การที่เราต้องออกแบบระบบ Visual Control ให้เรียบง่ายและใช้ได้จริงเป็นจุดที่สำคัญ ตรงนี้ควรเป็น Vender ที่มีประสบประสบการณ์ด้านนี้โดยเฉพาะ หรือการเลือกใช้ Sensor ต่างๆว่าจะจับยังไง ต้องแม่นยำไม่ผิดพลาดเป็นต้น

ต่อมาเป็น Project Document Control ระบบ Visual Control จะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆงาน Modify ต้องมีแน่นอนในอนาคตเพราะฉะนั้นบริษัทที่จะเข้ามาทำนั้นมีระบบ Document Control หรือไม่เช่น มีการเก็บรายละเอียดต่างๆว่าทำอะไรบ้างมีเพิ่มปุ่มไหนสามารถกดแบบนี้ได้ บางที่ถ้าไม่มีระบบในส่วนนี้อาจจะจำไม่ได้ว่าทำอะไรไปบ้าง เนื่องจากองค์กรหรือบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ ในการส่งมอบรายละเอียดโครงการถ้าซับซ้อนหรือไม่มีเอกสารจะทำให้ยุ่งยาก สรุปสิ่งที่จำเป็น 1.ในส่วนของอิเล็กทรอนิค 2.Part ต่างๆ 3.การออกแบบ 4.การใช้งานง่าย 5.Document Control นอกจากนั้นจะเป็นเรื่อง Safety พวกระบบ Groung หรือ Load ต่างๆ ให้เข้ากับมาตราฐานความปลอดภัยรวมไปถึงทีมงาน Service ในการใช้ช่างทีมีใบ SER ทุกครั้งที่จะเข้าต้องมีการอบรม Safety ตามขั้นตอนของโรงงาน สุดท้ายในเรื่องของ MA ต้องมีแพคเกจ Maintanence หรือจะเป็น Preventive Maintanence จะได้ใช้ระบบนี้อย่างต่อเนื่องในการผลิต หรือในลูกค้าบางโรงงานต้องใช้ระบบนี้ในการ Audit ในการทำ MA เพื่อให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

คำถาม

Q: อยากทราบว่าพอติดตั้งระบบแล้วตัวข้อมูล Software จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบภายในโรงงานรึเปล่า?

A: ระบบ Visual Control มี 2 แบบ แบบที่ 1 จะไม่เกี่ยวกับระบบ Data เลย แต่อีกประเภทเป็นระบบที่เก็บ Data แล้วต้อง Link เช่นเชื่อมต่อทั้งหมดผ่านระบบ LAN มีหลายแบบที่เคยใช้เป็นระบบ Rs-485 จะเป็นการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แต่ละตัวไม่ยุ่งกับวง LAN ภายในโรงงาน ในบางครั้งลูกค้าอยากจะประหยัดต้นทุนไม่อยากเดินสาย Rs-485 ก็เลย Link กับวง LAN เพราะฉะนั้น Device ในการเก็บค่าข้อมูลต่างๆเชื่อมต่อระบบ LAN ทั้งหมด ส่วนมากจะแยกวงและการ์ด LAN ต่างหาก บางที่ก็สามารถใช้ร่วมกันได้ตามจริงแล้วควรแยกออกจากกันดีกว่า 

Q:อยากได้ Report สำหรับการทำ Improvement เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพสามารถทำได้มั้ย?

A:ในส่วนนี้เราสามารถทำได้ต้องประชุมเก็บ Requiment ก่อนว่าค่าที่อยากจะได้ค่าไหนเช่น อยากจะดูสายการผลิตที่หยุดบ่อยที่สุดและสาเหตุ 5 อันดับแรกข้อมูลต่างๆได้เก็บไว้หมดแล้วเพียงแต่ Custom ให้ดูง่ายขึ้น

จากการที่ได้คุยกับลูกค้าที่เป็นฝั่งอุตสาหการหรือProduction ที่ต้องเลือกหา Vender นั้นมีความเสี่ยงว่า Vender ที่เข้ามาทำจะโดนลอยแพรึเปล่า ด้วยเหตุนี้เราจึงมาแนะนำในการเลือกระบบ Visual Control ต่างๆ

Q:ในการทำ Preventive Maintanence มีใบ Check List รึเปล่าว่าตัวไหนที่พัง

A:ปกติในการทำ PM ต้องมี Check List ว่าทำอะไรไปบ้างเหมือนกับนำรถยนต์เข้าศูนย์ บริษัทเราก็เหมือนกัน มี Report สรุปให้ว่าทำอะไรบ้างพร้อม Check List ให้กับทางลูกค้า

 

recommend podcast

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *