จุดเริ่มต้นที่มาที่ไปของไก่แจ้งเตือนเนื่องด้วยทางบริษัทเรามีประสบการณ์ด้านการทำระบบ Visual Control มานานทำให้เจอกับลูกค้าเคสนึง ที่งบประมานมีจำกัด ลูกค้าเลยอยากทราบว่าพอมีระบบที่ง่ายๆแต่ใช้การได้จริงบ้างรึเปล่า จากที่ได้เคยเข้าไปคุยกับลูกค้าในโรงงานแห่งหนึ่งเป็นโรงงานประกอบของเล่น ทางโรงงานอยากได้ระบบของเราไปใช้ จากเดิมที่เข้าใช้เป็นธง 3 สี ในแต่ละสายการผลิตจะมีกระบอกปักธง สีแดง สีเหลือง และสีเขียว เมื่อเวลาเกิดปัญหาเช่น ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเสียหาย พนักงานจะชูธงสีแดงค้างไว้จนกว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะมา หลักจากที่ได้รับการแก้ไขสามารถทำงานได้ปกติกระบอกปักธงก็จะมีธงสีเขียวแสดงอยู่ จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วการใช้ Visual Control นั้นไม่จำเป็นเสมอไปที่ต้องราคาแพง สำหรับลูกค้าโรงงานที่ไม่ได้มีงบประมาณในการทำ Improvement มากมาย ตามหลัก Lean Manufacturing Concept ให้ทำในสิ่งเรียบง่ายแต่ได้ผล ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คิดว่าในเมื่อใช้ธง 3 สีได้ ทำไมจะใช้ไก่แจ้งเตือนไม่ได้ ไก่ที่ว่านี้คือ “ ไก่โอ๊คแจ้งเตือน!”
จากประสบการณ์สาเหตุหลักเวลาสายการผลิตมีปัญหามาจาก 4 สาเหตุใหญ่ๆได้แก่
1. Man (คน)
2. Machine (เครื่องจักร)
3. Metrial (วัสดุ)
4. Method (วิธีการ)
หลักการง่ายๆของไก่แจ้งเตือน จะมีกระบอกไว้สำหรับใส่ไก่ไว้ที่สายการผลิตการส่งสัญญาณเสียงจะเป็นดังนี้ สาเหตุ 1 เกิดจากคนจะบีบเป็นเสียงยาว 2 ครั้ง สาเหตุ 2 เกิดจากเครื่องจักรจะบีบ 2 ทีสั้นๆ สาเหตุ 3 เกิดจากเครื่องจักรจะบีบ 3 ทีสั้นๆ สาเหตุ 4 เกิดจากวิธีการ 4 ทีสั้นๆ เป็นการรณรงค์ให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงการมีปัญหาหรือการ Breakdown Downtime เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและกลายเป็นเรื่องสนุกได้ ยิ่งถ้าพนักงานรีบแจ้งเตือนด้วยไก่อาจจะช่วยลดความตึงเครียดได้ ฉะนั้นอาจมีการตั้งรางวัลให้สำหรับไก่ของสายการผลิตไหนเป็นใบ้ คือไม่เกิดปัญหาในสายการผลิตเลยทั้งเดือน หลักจากที่ได้คุยกับ เพื่อนๆพี่ๆน้อง ที่เป็นเจ้าของโรงงานแล้วอยากทำ Improvement อย่างง่ายก็ได้รับความสนใจ เนื่องจากใช้งบประมาณน้อยและเรียบง่ายใช้ได้จริง ตามหลัก Lean Concept