หลีกเลี่ยงความผิดพลาด ด้วย POKA YOKE

POKA YOKE มีแนวคิดพื้นฐานมาจากวิศวกรชาวญี่ปุ่นนามว่า Shigeo Shingo   และได้ถูกนำมาใช้กับระบบการผลิตของโตโยต้า ก่อนหน้าที่จะมาเป็นคำว่า POKA YOKE แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า BAKA YOKE แปลตรงตัวได้ว่า ” หลีกเลี่ยงความโง่ ” ซึ่งอาจจะเป็นคำที่ฟังแล้วไม่สุภาพนัก จึงมีการเปลี่ยนคำเป็น  POKA YOKE ซึ่งให้ความหมายว่า ” หลีกเลี่ยงความผิดพลาด “POKA YOKA คำนี้มาจากภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ คำว่า “ POKA” (อ่านว่า โพ-คา ) แปลว่า การผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือพลั้งเผลอ แล้วคำว่า “ YOKE ” (อ่านว่า โย-เกะ) แปลว่า ป้องกัน ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า การป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ สาเหตุของความเสียหายนั้นอยู่ที่ความผิดพลาดของพนักงาน และความเสียหายนั้นคือ ผลจากไม่เอาใจใส่ความผิดพลาดเหล่านี้ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาคุณภาพตามมาเสียส่วนใหญ่ หรือเมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว การค้นหาและการเลือกของเสียออกจากของดี
ระบบ POKA YOKE จะมีหน้าที่ในการทำงาน ดังต่อไปนี้

  • วิธีการควบคุม เป็นวิธีการควบคุมป้องกันความผิดปกติ ความผิดพลาด หรือการชะงักชะงันของกระบวนการผลิตที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีดังกล่าวนี้เมื่อมีชิ้นงานที่ผิดปกติเกิดขึ้นเครื่องจักรจะหยุดการผลิตทันที ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรผลิตชิ้นงานผิดปกติชิ้นต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการควบคุมการเกิดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเตือน
  •  วิธีการเตือน คือการใช้สัญญาณเพื่อเตือนให้ทราบถึงความผิดปกติในกระบวนการผลิตซึ่งอาจจะทำให้เกิดการผลิตชิ้นงานผิดปกติหรือเสียออกมา วิธีนี้เราสามารถใช้การเตือนด้วยสัญญาณเสียงหรือสัญญาณไฟเตือนก็ได้อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงหากสภาพการทำงานไม่เอื้ออำนวย ผู้ปฏิบัติงานนั้นอาจไม่ได้ยินเสียหรือไม่เห็นสัญญาณที่เตือน

รูปแบบการติดตั้งระบบ POKA YOKE ในกระบวนการผลิตนั้นสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

  • วิธีการสัมผัส เป็นการใช้มือในการตรวจจับชิ้นงานที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากรูปร่าง สัดส่วน ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะถูกตรวจสอบโดยผ่านมายังเครื่องมือนี้เพื่อเช็คดูว่าขนาดรูปร่างงานได้มาตรฐานปกติหรือไม่
  • วิธีการกำหนดค่าแน่นอน ใช้วิธีตรวจนับชิ้นงานตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้และบอกความผิดพลาดเมื่อชิ้นงานไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่จะใช้ในชิ้นงานที่การผลิตต้องใช้สายพานเพื่อส่งต่อชิ้นงาน
  • วิธีการตรวจสอบที่ขั้นตอนของการส่งชิ้นงาน วิธีนี้ชิ้นงานจะไม่ถูกตรวจสอบโดยการส่งชิ้นงานแต่ละชิ้นไปบนสายพาน ทั้งนี้การตรวจสอบจะทำโดยการเทียบกับมาตรฐานที่วางไว้

อ้างอิง http://www.mim.psu.ac.th/index.php/2-uncategorised/91-poka-yoke

recommend podcast

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *